เมนู

ข้าพเจ้าจึงเป็นเช่นนี้ เพราะบุญนั้น ผลนี้จึงสำเร็จแก่
ข้าพเจ้า และโภคะทุกอย่างที่น่ารัก ฯ ล ฯ เพราะ
บุญนั้น ข้าพเจ้าจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และ
วรรณะของข้าพเจ้าจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุกุณฺฑลี ได้แก่ มีหูประดับด้วย
ตุ้มหูคู่งาม ปาฐะว่า สกุณฺฑลี ก็มี ตุ้มหูเช่นนั้น ชื่อว่า สกุณฑละ ตุ้มหู
เช่นนั้นมีอยู่แก่เทพบุตรนั้น เหตุนั้น เทพบุตรนั้น จึงชื่อ สกุณฺฑลี
ผู้มีตุ้มหู อธิบายว่า ผู้มีตุ้มหูที่เหมาะ มีตุ้มหูที่สมกันและกันแก่ท่าน.
บทว่า กปฺปิตเกสมสฺสุ ได้แก่ แต่งผมและหนวดเรียบร้อย. บทว่า
อามุตฺตหตฺถาภรโณ ได้แก่ สวมเครื่องประดับมือ มีนิ้วมือเป็นต้น.
บทว่า ตณฺหกฺขยูปปนฺโน ได้แก่ เข้าถึงธรรมที่สิ้นตัณหา ได้แก่
พระอรหัต หรือนิพพานนั่นเอง อธิบายว่า บรรลุธรรมที่คายกิเลส.
คำที่เหลือ มีนัยที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้น.
จบอรรถกถาปฐมกุณฑลีวิมาน

9. ทุติยกุณฑลีวิมาน


ว่าด้วยกุณฑลีวิมานที่ 2


พระมหาโมคคัลลานเถระ

ได้ถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า
[73] ท่านแต่งองค์ทรงมาลัย มีพัสตราภรณ์
สวย ฯ ล ฯ ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และ
วรรณะของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพบุตรนั้น ถูกพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว
ดีใจ ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ ข้าพเจ้าได้
เห็นสมณะล้วนแต่ดี ฯ ลฯ ข้าพเจ้าจึงมีวรรณะเช่นนี้
เพราะบุญนั้น ฯ ล ฯ และวรรณะของข้าพเจ้าจึงสว่าง
ไสวไปทุกทิศ.

จบทุติยกุณฑลีวิมาน

อรรถกถาทุติยกุณฑลีวิมาน


ทุติยกุณฑลีวิมาน มีคาถาว่า อลงฺกโต มาลฺยธโร สุวตฺโถ
เป็นต้น. ทุติยกุณฑลีวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร กรุงสาวัตถี.
สมัยนั้น ท่านพระอัครสาวกทั้งสอง เที่ยวจาริกไปในแคว้นกาสี. คำดัง
ว่ามาเป็นต้นทั้งหมด ก็เช่นเดียวกับวิมานก่อนนั่นแหละ.
ท่านพระมหาโมคคัลลานะถามว่า
ท่านแต่งองค์ ทรงมาลัย ทรงพัสตราภรณ์อัน
สวย ตุ้มหูงาม แต่งผมและหนวดเรียบร้อย สวม
เครื่องประดับมือ มียศ อยู่ในวิมานทิพย์เหมือน
พระจันทร์.